วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงงานวิทยาศาสตร์ น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอันชันและมะกรูด

บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
                ในปัจจุบันมีการ ใช้สารเคมีใบชีวิตประจำวันกันอย่างแพร่หลาย  และมีสารเคมีที่มีพิษรวมอยู่ด้วยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหามลพิษอย่างเร่งด่วน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขสารพิษตกค้าง  ทั้งในน้ำ  ในอากาศ  ในดิน  รวมทั้งในอาหาร  ล้วนมีสารตกค้างทั้งสิ้น
                น้ำยาเช็ดกระจกที่ใช้กันทั่วไปมีส่วนผสมของ บิวทิล  เซลโลโซล และ  แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์  ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ซึ่งสารเคมีนี้มีอันตรายต่อมนุษย์  และสิ่งมีชีวิตอื่น
                ดอกอัญชันสีม่วง ที่ขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณใกล้บ้าน ในสวน ริมถนน  คนในชุมชนของเราโดยเฉพาะผู้สูงอายุมักนำดอกอัญชันมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ทาผม ทาคิ้ว เพื่อให้ดกดำ ใช้แทนสีผสมอาหาร ชึ่งเป็นน้ำชาลดอาการเบาหวาน เป็นต้น
                นอกจากนี้มะกรูดและดอกอัญชันยังช่วยลดคราบสกปรกและยังไม่มีสารเคมีเพราะน้ำยาเช็ดกระจกที่ชื้อมาอาจจะมีสารเคมีและยังอาจทำอันตรายร่างกายเราด้วย
                สมมุติฐาน
                น้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูดสามารถนำไปใช้ขจัดคราบสกปรกบนกระจกแทนน้ำยาเช็ดกระจกทั่วไปได้
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
                1.เพื่อศึกษาผลการทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูดไปใช้ขจัดคราบสกปรกบนกระจก
                2.เพื่อนำพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์
3.เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ตัวแปร
                ตัวแปรต้น น้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูด
            ตัวแปรตาม การลดลงหรือหายไปของคราบสกปรกบนกระจก
            ตัวแปรควบคุม อุณหภูมิของอากาศ
ขอบเขตของการศึกษา
                1.น้ำหมักชีวภาพจากอัญชันและมะกรูด  จะใช้อัญชันสีม่วงพันธ์กลีบชั้นเดียว และพันธ์กลีบซ้อน
                2.กระจกที่ใช้ทำการทดลอง ใช้กระจกเงาและกระจกใส ที่ความสกปรกตามปกติ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                น้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูด สามารถนำไปใช้ขจัดคราบสกปรกบนกระจกแทนน้ำยาเช็ดกระจกทั่วไปได้   และช่วยลดสารพิษตกค้าง



          บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
อัญชัน
อัญชัน    จัดเป็นพืชมีดอกชนิดใบเลี้ยงคู่ เป็นพืชเถาเลื้อย  ตระกูลเดียวกับถั่ว มีอายุประมาณ ปี  จึงจัดเป็นพืชอายุสั้น  ลำต้นเลื้อย และพันรอบหลัก  อาจยาวได้ถึง 6-7 เมตร มีดอกที่สวยงาม  โดยปกติมีสีน้ำเงิน  มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา
ชื่อพื้นเมือง          : อัญชัน(กรุงเทพฯ ภาคกลาง) แดงชัน (เชียงใหม่) เอื้องชัน (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์    : Clitoria ternatea L.
ชื่อวงศ์                   :  Leguminosae
ชื่อสามัญ               :  Butterfly-pea (Australia ):
                                  Blue-pea, cordofan-pea, honte
                                 ( French);   blue Klitorie
                                ( Portuguese ); azulejo, conchitis,
                                Papito,  zapatico  de la reina,
                        Zapotillo,   conchita
                        ( Spanish); cunha



ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์
            อัญชัน  เป็นพืชอายุหลายปี ต้นเป็นกอพุ่มขนาดเล็ก ปลายยอดเป็นเถาเลื้อยพัน(Twining) อัญชันที่เก็บรวบรวมสายพันธุ์จำแนกได้ 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์กลีบดอกชั้นเดียว หรือดอกรา ดอกเป็นรูปดอกถั่วมี 3 ชนิดคือ ชนิดสีน้ำเงิน ม่วง และสีขาว และสายกลีบดอกซ้อน มี 5 กลีบดอก (standard ) ขนาดใหญ่  ซึ่งมีสีเช่นเดียวกัน  ทั้ง 2 สายพันธุ์ มีอับเรณุสีเหลืองอ่อน ใบประกอบเรียงตัวแบบขนขนปลายคี่  ใบย่อยรูปไข่ สีใบเขียวเข็ม ผิวอ่อนคอนข้างหยาบเล็กน้อยออกดอกตลอดปี ชนิดดอกเดียว ฝักรูปดาบแบบโค้งเล็กน้อย  เมล็ดแบนรูปไต
สรรพคุณทางยา
            ราก  ใช่บำรุงรักษาดวงตา ทำให้ตาสว่าง แก้ตาฟาง ตาแฉะ ฝนกับรากสะอึกและซาวข้าวกินหรือทา  แก้งูสวัด เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้ถูแก้ปวดฟัน ทำให้ฟันทน  รสเบื่อเมาปรุงเป็นยา ดอก ใช้รักษาอาการผมร่วง ใช้ขยี้ทาศีรษะช่วยปลูกผม  ใช้ทาคิ้ว ทำให้ผมและคิ้วดกดำเนื่องจากดอกอัญชันมีสารแอนโธ่ไซยานิน  มีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเล็กๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมมากขึ้น  แก้ฟกช้ำบวม เมล็ด เป็นยาระบาย
การนำมาใช้ประโยชน์
            ภูมิปัญญาชาวบ้านของไทย ได้นำเอาสีจากดอกอัญชันมาใช้  แต่งสีขนมไทย เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมชั้น เป็นต้น ทำให้สีคราม โดยเอาดอกอัญชันไปแช่ในน้ำร้อนจะได้สีน้ำเงิน ถ้าเติมน้ำมะนาว  หรือหยดน้ำพร้าวลงไปเล็กน้อย  จะได้สีม่วง นอกจากนี้ในสมัยโบราณยังนิยมใช้ย้อมผมจะทำให้ผมดำตามธรรมชาติ ไม่หงอกก่อนวัยแก้ปัญญาผมแตกปลายและผมเสีย กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมให้นุ่มสลวยเป็นเงางาม  ปัจจุบันมีการเอาสารสกัดจากดอกอัญชันไปใช้ผสมกับแชมพูและครีมนวดผม เพื่อทำให้ผมดกดำ
ที่มา: http//www.doctor.or.th/node/2359 และ http://
                www.rspg.or.th/plants_data/index.htm

มะกรูด
            มะกรูด  เป็นพืชในตระกูลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด
ชื่อวิทยาศาสตร์   :Citrus  hystrix DC.
ชื่อสามัญ                  :Leech lime, Mauritus papeda
วงศ์                            :Rutaceae
ชื่ออื่น                       :มะขุน มะกรูด (ภาคเหนือ) มะขู
                                  (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ส้มกรูด
                                  ส้มมั่วผี (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์
            เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก  สูง 2-8 เมตรเป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล  มีหนามยาวเล็กน้อยแหลม อยู่ตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบชนิดลดรูป ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่  โคนผลเรียวเป็นจุก  ผิวขรุขระ พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว  ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดกลมรี สีขาว
สรรพคุณทางยา
            รากกระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ ใบมีน้ำมันหอมระเหย ผลและน้ำคั้นจากผลใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผมสะอาด ผิวจากผลปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น เป็นยาบำรุงหัวใจ



การนำมาใช้ประโยชน์
คนไทยนิยมปลูกมะกรูด ไว้ตามบ้านและในสวนมะกรูดเป็นไม้พุ่มยืนขนาดเล็ก ใบมีกลิ่นหอม ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระมีปุ่มนูน และมีจุกที่หัวของผล ส่วนที่ใช้ คือ ใบและผล
Ø ใช้เป็นยาหรืส่วนผสมต่างๆ คือ น้ำในผลแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร
น้ำมะกรูดใช้ดองยา และบำรุงโลหิต
Ø ใช้เป็นเครื่องเทศ โดยใช้ผิวของผล  เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหลายชนิด
Ø ใช้แต่งกลิ่นในอาหารคาวหลายชนิด เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด
Ø น้ำมะกรูดใช้ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสเปรี้ยวและดับกลิ่นคาวปลา
Ø คนโบราณนิยมสระผมด้วยมะกรูด  เพราะทำให้ผมดำเป็นมัน ไม่แห้งกรอบ


                                                                                              บทที่ 3
วัสดุ อุปกรณ์และวิธีทำการทดลอง
วัสดุอุปกรณ์
1.ดอกอัญชันสีม่วง                                                  300        กรัม
2.น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล                              300        กรัม
3.มะกรูด                                                                    2            ผล
4.น้ำสะอาด                                                              1             ลิตร
5.หม้อสแตนเลส/หม้อเคลือบ                               1           ใบ
6.มีด                                                                           1            เล่ม
7.เตา                                                                          1            ใบ
8.โหลสำหรับหมัก                                                 1            ใบ

               วิธีดำเนินการทดลอง

                                                ตอนที่1 การทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชัน





             2.ฝานมะกรูด เอาเฉพาะผิว ใส่ลงในหม้อต้มดอกอัญชันต้มต่อประมาณ 10นาที ดับไฟ








3.ปล่อยให้น้ำดอกอัญชันเย็นลง จนมีอุณหภูมิ60 องศาเซลเซียส ใส่น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาลลงไปคนให้ละลายเข้ากัน





4.เทใส่โหลสำหรับหมัก ปิดฝา พอให้แก๊สที่เกิดขึ้นระบายออกมาได้ ทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน



5.กรองน้ำหมักชีวภาพที่ได้ เอากากออก (นำไปเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้)
6.นำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันใส่ลงในขวดสเปรย์

ตอนที่2  หาประสิทธิภาพในการทำความสะอาดของน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันกับน้ำยาเช็ดกระจก

1.วันที่1 นำกระจกเงาที่มีความสกปรกตามปกติ 1 แผ่นมาทำความสะอาดด้วยน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด เป็นเวลา 5 นาที  และ10 นาที่ สังเกตและบันทึกผล
2.วันที่2 นำกระจกเงาที่มีความสกปรกตามปกติ 1 แผ่นมาทำความสะอาดด้วยน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด เป็นเวลา 5 นาที่ และ 10 นาที   สังเกตและบันทึกผล



บทที่4
ผลการทดลอง

     ตอนที่ 1. การทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชัน ผลเป็นดังนี้
เมื่อยังไม่กรอง ได้น้ำหมักที่มีสีม่วงเข้ม  มีแก๊สเล็กน้อย  มีกลิ่นออกเปรี้ยว  มีดอกอัญชันที่ลอยอยู่
    ตอนที่ 2. หาประสิทธิภาพในการทำความสะอาดของน้ำหมักกับน้ำยาเช็ดกระจก  ผลเป็นดังนี้


วัสดุทดลอง
จำนวนวัน
ระยะเวลา 5 นาที
ระยะเวลา 10นาที
กระจกเงา
วันที่ 1
ใส สะอาด ไม่มีคราบ
ใส สะอาด ไม่มีคราบ เงาวาว

วันที่2
ใสสะอาด มีความเงาวาว
ใส สะอาด ไม่มีคราบ
มีความเงาวาวมาก






บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผลการทดลอง
จากผลทดลองตอนที่ 1
เมื่อยังไม่กรอง น้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันสีม่วงเข็ม มีแก๊สเล็กน้อย มีกลิ่นออกเปรี้ยวเล็กน้อย มีดอกอัญชันสีซีดลอยอยู่ด้านบนและมีฝ้าสีขาวลอยอยู่บนผิวด้านบน การที่น้ำหมักชีวภาพมีกลิ่นเปรี้ยวเล็กน้อยและฝ้าสีขาวลอยอยู่บนผิวด้านบน  แสดงว่ามีจุลินทรีย์เกิดขึ้น สามารถนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้งานได้ ถ้าไม่ฝ้าสีขาวลอยอยู่ด้านบนและมีกลิ่นเห็นแสดงว่าน้ำหมักชีวภาพเสีย ใช้ไม่ได้
สรุปได้ว่า น้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันที่คณะผู้จัดทำขึ้นนั้นมาใช้ได้
ผลการทดลองตอนที่ 2
                เมื่อน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันไปใช้ทำความสะอาดกระจกเงา ผลปรากฏว่า กระจกเงา มีความเงาวาว ไม่มีคราบสกปรกเหลืออยู่นอกจากนั้นน้ำมันหอมจากผิวมะกรูดยังมีสรรพคุณในการไล่แมลงต่างๆ รวมทั้งยุงอีกด้วย
                เมื่อหาประสิทธิภาพ  การทำความสะอาดขิงน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันกับน้ำยาเช็ดกระจกเงาสรุปได้ว่าไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะ

1.             นำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ทำปุ๋ย บำบัดน้ำเสีย แก้ไข ท่อตัน กำจัดกลิ่น ล้างห้องน้ำ เป็นต้น
2.             นำพืชผัก ผลไม้ ดอกไม้ชนิดอื่น ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพ



วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีแห่เทียนพรรษา


เชิญเที่ยวงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๖ ภายใต้สโลแกน “สืบฮีตวิถีชาวอุบลฯ ยลพุทธศิลป์ถิ่นไทยดี”
ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ถึง 31 กรกฎาคม ๒๕๕๖ ซึ่งจัดให้นักท่องเที่ยวได้แวะมาเยี่ยมชมต้นเทียน หรือขบวนต้นเทียนตลอดทั้งเดือน โดยเฉพาะขบวนต้นเทียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะจัดแสดงให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยม และมาถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก
ถือเป็นการสืบสานประเพณีที่มีมายาวนาน และเป็นการย้อนตำนาน 112 ปี งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ประจำจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา และกำเนิดช่างเทียนพรรษา ที่สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก
ซึ่งจะมีการเปิดงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 กรกฎาคม ๒๕๕๖ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมพิธีเปิด ขบวนแห่เทียนเข้าพรรษาอุบลประจำปี 2556 และการแสดงแห่เทียน ภาคกลางคืน ประกอบแสง สี เสียง อย่างยิ่งใหญ่
กิจกรรมประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลฯ ปี 2556
  • 1-31 กรกฎาคม 2556 “เอ้เมือง เรืองโรจน์”
  • 17 กรกฎาคม 2556 พิธีเปิดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ถนนสายเทียน เยือนชุมชนคนทำเทียน
  • 20-22 กรกฎาคม 2556 ย้อนตำนาน 112 ปี การแสดงชุดสุนทราพาเพลิน รำวงย้อนยุคเต็มรูปแบบ
    สัมผัส 25 วิถีชาวอุบลฯ ชมการแสดงจำอวดหน้าม่าน จากรายการคุณพระช่วย
  • 22 กรกฎาคม 2556 วิจิตรอลังการ งามล้ำเทียนพรรษา การประกวดต้นเทียนทั้ง 3 ประเภท
    พิธีเวียนเทียนวันอาสาฬหบูชา งานพาแลงและประกวดสาวงามเทียนพรรษา
    การแสดงขบวนแห่เทียนภาคกลางคืน ประกอบแสง เสียง
  • 23 กรกฎาคม 2556 พิธีเปิดขบวนแห่เทียนเข้าพรรษาพรรษา อุบลราชธานี ประจำปี 2556
    พิธีถวายเทียนหลวงพระราชทาน และผ้าอาบน้ำฝนพระราชทาน
    การแสดงขบวนแห่เทียนภาคกลางคืน ประกอบแสง เสียง
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.guideubon.com/candlefestival2013.php
ประเพณีแห่เทียนพรรษา 2556



          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำแม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา" และในปี 2556 นี้ "วันเข้าพรรษา" จะตรงกับวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

           อย่างไรก็ตาม ประเพณีสำคัญอีกหนึ่งในช่วงเข้าพรรษา คือ ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา หรือที่เรียกกันว่า ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา โดยการหล่อเทียนเข้าพรรษามีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า-เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป-เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงส์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว และตามชนบทการหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว ทำให้เป็นอีกหนึ่งงานที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ส่วนในปี 2556 นี้ จะมีการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาที่ไหนบ้างนั้น ตามเราไปชมเลยค่ะ


     งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี
ประเพณีแห่เทียนพรรษา 2556

ภาพจาก Jaochainoi/shutterstock.com 

           จังหวัดอุบลราชธานี ขอเชิญเที่ยวงาน "สืบฮีตวิถีชาวอุบลฯ ยลพุทธศิลป์ถิ่นไทยดี" ในระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2556 ณ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจัตุรมุข เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและส่งเสริมการท่องเที่ยว

ประเพณีแห่เทียนพรรษา 2556

ภาพจาก Jukree Boonprasit/shutterstock.com 

           โดยมีกิจกรรมน่าสนใจต่าง ๆ มากมาย อาทิ กิจกรรมเยือนชุมชนคนทำเทียน สัมผัส 25 วิถีชาวอุบล ชมความงดงาม ความยิ่งใหญ่ของพิธีอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานและผ้าอาบน้ำฝนพระราชทาน ร่วมย้อนตำนาน 112 การแสดงชุดสุนทราพาเพลิน การแสดงจำอวดหน้าม่าน ชมการแสดงแสง เสียง ขบวนแห่เทียนภาคกลางคืน งานพาแลงประกวดนางงามเทียนพรรษา ในระหว่างวันที่ 17-23 กรกฎาคม 2556 ซึ่งมีการนำเสนอ 3 วิถี คือ วิถีธรรม นิทรรศการพุทธประวัติ ไหว้ดีพระดีศรีอุบล วิถีชาวบ้าน สาธิตการทำผ้าพื้นเมือง การตำหูกสาวไหม การทำเครื่องจักสาน ปั้นดินเผา สาธิตการทำฆ้อง การทำเครื่องทองเหลือง วิถีเทียน ชมการจัดต้นดอกผึ้ง การแกะสลักเทียน ซุ้มเทียนหอม กิจกรรมวิจิตรอลังการงามล้ำเทียนพรรษา (กิจกรรมรวมเทียน) กิจกรรมสว่างไสว ฮุ่งเฮืองเมืองธรรมด้วยการรณรงค์จัดทำฮางเทียน จุดเทียนหน้าบ้าน ห้างร้าน หน่วยงานราชการ

           ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท.สำนักงานอุบลราชธานี โทรศัพท์ 0 4524 3770, 0 4525 0714 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก Tat UbonRatchathani

  
       งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดนครราชสีมา

ประเพณีแห่เทียนพรรษา 2556

ภาพจาก KROMKRATHOG/shutterstock.com  

           เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวในการเดินทางไปร่วมงานประเพณีแห่เทียนเลยก็ว่าได้สำหรับ งานแห่เทียนโคราช ประจำปี 2556 ภายใต้ชื่อ "เสริมบุญ สร้างทานบารมี แห่เทียน โคราช" ซึ่งมีกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2556 ณ บริเวณสวนเมืองทอง สวนสุรนารี, สวนอนุสรณ์สถานฯ และลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

           สำหรับการประกวดต้นเทียนพรรษาถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศเป็นประจำทุกปี จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ร่วมชมความงดงามอลังการของต้นเทียนพรรษา ซึ่งแต่ละต้นล้วนเกิดจากความเพียรพยายามของช่างเทียนที่มีความชำนาญ สร้างและแกะสลักต้นเทียนอันวิจิตรงดงาม กล่าวได้ว่าฝีมือของช่างเทียนโคราชนั้นไม่แพ้ใคร

           โดยในปีนี้ได้มีการประกวดต้นเทียนพรรษาประเภทต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภท ก. ประเภท ข. (ขบวนแห่ต้นเทียน พร้อมกันในวันที่ 22 กรกฎาคม 2556 เวลา 13.00-18.00 น. ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี) ประเภท ค. (ลงทะเบียน 19 กรกฎาคม 2556 เวลา 08.00-16.00 น.) พร้อมชมขบวนแห่สุดยิ่งใหญ่ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เริ่มเวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ที่รอบตัวเมืองโคราชเป็นระยะทางกว่า 7 กิโลเมตร ภายในงานยังมีการแสดงประกอบ ต้นเทียน แสง สี เสียง ซึ่งเป็นการแสดงที่หาชมได้ยาก และมหรสพสมโภช อีกทั้งกิจกรรมทางบุญกับ 9 บุญ ร่วมทำบุญพิธีเชิญพระพุทธมนต์ การหล่อเทียนพระประจำวันเกิดเป็นที่ระลึกนำกลับไปเพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต กิจกรรมการประกวดต้นเทียน และขบวนแห่เทียน

           ทั้งนี้ ใครที่สนใจเดินทางไปร่วมงานบุญครั้งใหญ่แบบนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดงานเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตำบลธาตุพนม โทรศัพท์ 0 4254 1304, ททท.สำนักงานนครพนม โทรศัพท์ 0 4251 3490-1 หรือเว็บไซต์ koratcity.net และ เฟซบุ๊ก KORATCANDLE 

   
    
ประเพณีใส่บาตรเทียน


          จังหวัดน่าน ขอเชิญร่วมงาน "ประเพณีใส่บาตรเทียน" ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 ณ วัดบุญยืน พระอารามหลวง ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
          โดย ประเพณีใส่บาตรเทียน ถือเป็นประเพณีที่สำคัญที่คณะสงฆ์และคณะศรัทธาสาธุชนชาวอำเภอเวียงสา ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งไม่ปรากฏชัดว่าเริ่มขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าน่าจะเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2344 หลังจากเจ้าฟ้าอัตถวรปัณโญทรงสร้างวัดบุญยืนได้ 1 ปี (วัดบุญยืนสร้างเมื่อ พ.ศ.2343) ในยุคโบราณที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ พระภิกษุสามเณรทุกรูปในเวียงสา ได้กำหนดเอาวันแรม 2 ค่ำ เดือน 8 (หรือเดือน 10 เหนือ) หรือหลังวันเข้าพรรษา 1 วัน จัดพิธีสูมาคารวะหรือพิธีขอขมาแก่เจ้าคณะอำเภอและพระชั้นผู้ใหญ่ขึ้น ในขณะที่พุทธบริษัททั้งหลายต่างก็ถือเอาวันเดียวกันนี้นำเทียนและดอกไม้มาถวายแก่พระภิกษุ-สามเณร เพื่อให้ได้มีแสงสว่างไว้ปฏิบัติศาสนกิจและศึกษาพระธรรมวินัยในยามค่ำคืน ซึ่งสอดคล้องกับพุทธบัญญัติที่ให้ญาติโยมได้ถวายเทียนให้กับพระภิกษุ สามเณร

          เดิมประเพณีใส่บาตรเทียนเป็นประเพณีที่ทำเฉพาะวัดบุญยืน และต่อมาได้ขยายไปทั่วอำเภอเวียงสา สืบเนื่องจากวัดบุญยืนเป็นวัดที่มีเจ้าคณะอำเภออยู่จำพรรษามาตั้งแต่อดีต พระภิกษุสามเณรทุกรูปในอำเภอจึงได้มาทำพิธีขอขมา (สูมาคารวะ) เจ้าคณะอำเภอ และพระเถระที่มีอายุพรรษามากที่วัดนี้ จึงเกิดการสานต่อประเพณีใส่บาตรเทียนขึ้นในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี มาจนถึงทุกวันนี้

          ทั้งนี้ ประเพณีใส่บาตรเทียน ถือเป็นประเพณีที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งอยู่คู่กับชาวอำเภอเวียงสามาเป็นเวลาช้านาน เพราะเป็นประเพณีที่มีทั้งฝ่ายพระสงฆ์และคฤหัสถ์ใส่บาตรร่วมกัน ที่อื่นปรากฏเฉพาะคฤหัสถ์ใส่บาตรพระเพียงอย่างเดียว จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะช่วยกันรักษาประเพณีนี้ไว้ให้อยู่คู่กับชาวอำเภอเวียงสาต่อไป
          กิจกรรมภายในงาน พิธีจะเริ่มตั้งแต่ภาคเช้า ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป คือพระภิกษุสามเณรในอำเภอเวียงสา และคณะศรัทธาสาธุชน จะเตรียมเทียน ดอกไม้ น้ำส้มป่อยหรือน้ำอบน้ำหอม และเตรียมสำรับกับข้าวใส่ปิ่นโตไปด้วย เพื่อเตรียมถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสามเณรที่มาร่วมพิธี ส่วนในภาคบ่าย ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป พระภิกษุสามเณรจะมีการเตรียมบาตร และผ้าอาบน้ำฝนหรือผ้าสบงไว้ปูบนโต๊ะ และตั้งบาตรบนผ้าอาบน้ำฝน เพื่อรองรับเทียนที่คณะสงฆ์ และคณะศรัทธาสาธุชนใส่บาตรเทียน โดยมีพระภิกษุสามเณรนำคณะศรัทธาสาธุชนเดินใส่บาตรเทียนเวียนรอบโต๊ะ และวางผ้าอาบน้ำฝน เมื่อเสร็จสิ้นพิธีใส่บาตรเทียน ก็จะกลับเข้าไปภายในอุโบสถเพื่อทำพิธีสูมาคารวะ (ขอขมา) ต่อพระเถระผู้มีอายุพรรษามาก

 
     งานแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด

ประเพณีแห่เทียนพรรษา 2556

ภาพจาก Noppasin/shutterstock.com  

          จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับ สำนักงานเทศบาลตำบลลาดชะโด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพระนครศรีอยุธยา บริษัท โฟโต้ไฟล์ กรุ๊ป พระครูวิมลพัฒนกิจโกศล เจ้าอาวาสวัดลาดชะโด และ บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด จัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำ ณ คลองลาดชะโด อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2556 (วันอาสาฬหบูชา) เพื่ออนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้คงไว้ ตลอดจนส่งเสริมให้คนในชุมชนร่วมกันบำรุงรักษาแม่น้ำลำคลองให้อยู่ในสภาพสวยงาม รวมถึงชมวิถีชีวิตริมสองฝั่งคลอง สัมผัสความเป็นไทย วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ยังคงรักษาไว้ ตลอดเส้นทางสายน้ำแห่งชีวิต ที่ซึ่งในน้ำยังมีปลา ในท้องทุ่งนายังเขียวขจี

          โดยจะพบกับกิจกรรมมากมายในงาน เช่น ขบวนเรือแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ตกแต่งสร้างสรรค์อย่างสวยงาม การประกวดบ้านสวยริมคลอง การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านลาดชะโด การจัดแสดงภาพถ่ายวิถีชีวิตชาวลาดชะโด ณ “สถานสำแดงภาพลาดชะโด” การจำลองบรรยากาศตลาดน้ำย้อนยุค และในภาคค่ำเชิญชมการแสดง แสง สี เสียง ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา เล่าขานตำนานความเป็นมาของชุมชนลาดชะโด

          ทั้งนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ nmt.or.th/ayutthaya/latchado หรือ เฟซบุ๊ก งานแห่เทียนพรรษาทางน้ำ ณ คลองลาดชะโด

   

     งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาอำเภอธาตุพนม ประจำปี 2556

          ถือเป็นงานประเพณีแห่เทียนพรรษาที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของไทย เพราะเมื่อถึงเทศกาลจะมีการจัดขบวนแห่งเทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่อลังการไม่แพ้กัน โดยในปีนี้ งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาอำเภอธาตุพนม ประจำปี 2556 มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม 2556 ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 

          โดยภายในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น การชมขบวนแห่ต้นเทียนที่ตกแต่งด้วยบุพชาติอย่างตระการตา, การประกวดเทพีต้นเทียน, ร่วมนมัสการองค์พระธาตุพนม พร้อมร่วมทำบุญตักบาตร เวียนเทียนในวันเข้าพรรษาอีกด้วย

          ทั้งนี้ สำหรับใครที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ เทศบาลตำบลธาตุพนม โทรศัพท์ 0 4254 1304 หรือ ททท.นครพนม โทรศัพท์ 0 4251 3490-1

   
    
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดสุพรรณบุรี


ประเพณีแห่เทียนพรรษา 2556

ภาพจาก gopause /shutterstock.com
          จังหวัดสุพรรณบุรี ขอเชิญร่วม "งานประเพณีแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2556" ระหว่างวันที่ 22-24 กรกฎาคม 2556 ณ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเป็นการฟื้นฟูประเพณี วัฒนธรรมทางศาสนา และการนำเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของโบราณสถาน โบราณวัตถุ วิถีชีวิตของชนเผ่าต่าง ๆ ที่อยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่สำคัญใน 10 อำเภอของจังหวัดสุพรรณบุรี นำเสนอโดยผ่านการแกะสลักเทียนประจำพรรษา เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมความสวยงามของต้นเทียน พร้อมทั้งขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ตระการตาของแต่ละอำเภอ 

          โดยในวันที่ 23 กรกฎาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ชมพิธีเปิดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมชมขบวนแห่เทียนพรรษาอันยิ่งใหญ่ตระการตา ซึ่งภายในขบวนมีการแสดงในรูปแบบศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การฟ้อนรำที่อ่อนช้อยงดงาม ชมการประกวดเทียนพรรษา การประกวดขบวนแห่ และชมการจัดโชว์รถต้นเทียนพรรษา และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมของวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี เพื่อเฉลิมฉลองสมโภชเทียนพรรษา  ณ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
          ทั้งนี้ สำหรับใครที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ที่ทำการปกครองจังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3553 5380, ททท. สำนักงานสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3553 6030, 0 3553 5789, 0 3553 6189

 
    
ประเพณีแห่เทียนพรรษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี


          เมืองพัทยา จัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2556 และขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุ ในระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2556 ณ ถนนเลียบชายหาดพัทยา เพื่อสืบสานและทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาของไทยสืบไป

          กำหนดการ

          วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2556

    เวลา 13.00 น. ลงทะเบียน ประกวดต้นเทียนพรรษาและริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา ณ ถนนเลียบชายหาดพัทยา บริเวณแยกพัทยากลาง

   
 เวลา 15.30 น. เคลื่อนขบวนต้นเทียนพรรษาและริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา ไปตามถนนเลียบชายหาดพัทยา ถึงจุดสิ้นสุดขบวน ณ บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวพัทยาใต้

   
 เวลา 15.30 น. เคลื่อนขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้รับพระประทาน จากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมสักการบูชา เสริมสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และในวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2556 จะนำไปประดิษฐาน ณ วัดใหม่สำราญ (เกาะล้าน)

   
 เวลา 18.30 น. พิธีมอบรางวัล แก่ผู้ชนะการประกวดต้นเทียนพรรษาและริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา ณ บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวพัทยาใต้

          วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2556

   
 เวลา 09.00 น. พิธีถวายเทียนพรรษาแก่วัดต่าง ๆ ในเขตเมืองพัทยา เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้พุทธศาสนิกชนได้ประกอบกิจกรรมทางศาสนาและสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทย อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและภาพลักษณ์ที่ดีของเมืองพัทยา

   
       หลักเกณฑ์การประกวดต้นเทียนพรรษาและริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา ประกวดต้นเทียน ระดับหน่วยงานทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

   
 ประเภทสวยงาม
   
 ประเภทความคิดสร้างสรรค์

          การประกวดริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา แบ่งออกเป็น 2 ระดับ
     ระดับหน่วยงานทั่วไป
   
  ระดับชุมชนในเขตเมืองพัทยา

          การประกวดริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา เน้นการสื่อความหมายด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนา หรือเรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น และเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ที่ดีงามของเมืองพัทยา ตลอดจนการส่งเสริมความสามัคคี สมานฉันท์ ปรองดอง ความรักในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

          หน่วยงาน ชุมชนในเขตพื้นที่เมืองพัทยา สนใจเข้าร่วมประกวดต้นเทียนพรรษาและริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สำนักการศึกษา ศาลาว่าการเมืองพัทยา ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ในวันเวลาราชการ โทรศัพท์ 0 3825 3100 ต่อ 3327

          ทั้งนี้ เมืองพัทยาจะทำการปิดการจราจร ในวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎคม 2556 ณ บริเวณถนนเลียบชายหาด 1 ช่องทางจราจร ตั้งแต่วงเวียนปลาโลมาถึงบริเวณแยกพัทยากลาง ตั้งแต่เวลา 13.00-17.00 น. และบริเวณถนนเลียบชายหาดพัทยา ตั้งแต่บริเวณแยกพัทยากลาง ถึงบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวพัทยาใต้ ตั้งแต่เวลา 15.30-18.00 น. เมืองพัทยาขออภัยมา ณ ที่นี่ อย่างไรก็ตาม ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก PRPATTAYA 

   

    
มหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง จังหวัดสุรินทร์


          จังหวัดสุรินทร์ ขอเชิญชวนเที่ยวงาน "มหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง จังหวัดสุรินทร์" ประจำปี 2556 ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2556 ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ และอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
          โดยในงานจะมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีหน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์, การประกวดสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะ, การประกวดจัดโต๊ะหมู่บูชา, การประกวดบรรยายธรรมะ, การแสดงดนตรีไทยของนักเรียน รวมถึงการเจริญพระพุทธมนต์และอธิษฐานจิตถวายในหลวง ซึ่งมีพิธีเปิดงาน ณ บริเวณหน้าค่ายวีรวัฒน์โยธิน จังหวัดทหารบกสุรินทร์

          โดยไฮไลท์สำคัญของงาน คือ การชมขบวนแห่เทียนพรรษาที่วิจิตรงดงาม และขบวนแห่ช้างที่ประดับตกแต่งสวยงามด้วย แสงไฟระยิบระยับ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งชมบนอัฒจรรย์ ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง เพื่อทำบุญตักบาตรบนหลังช้างหนึ่งเดียวในโลก โดยพระเถระชั้นผู้ใหญ่นั่งรับบิณฑบาตบนหลังช้าง

          ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจังหวัดฝ่ายอำนวยการ โทรศัพท์ 0 4451 2039 และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ โทรศัพท์ 0 4451 4447-8